วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

สารอันตราย ตอนที่2

1. ในหมึกพิมพ์จะมีสาร คาร์ซิโนเจน ซึ่งเป็นสารก่อเกิดมะเร็ง ผงคาร์บอน เมื่อผงคาร์บอนทำปฏิกิริยากัน สารไนโตรไพริน สารอะโรเมติกโพลี ไซคลิคไฮโดคาร์บอน สารเทอโม-พลาสติกเรซิน ขณะที่เครื่องทำงานจะมีกลิ่นฉุน จากปฏิกิริยาของสารเคมีดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ใช้ที่ต้องสัมผัสนาน ๆ จะมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ง่วงซึม รู้สึกมึนชา
2. โลหะที่ใช้เคลือบลูกกลิ้ง เช่น ซิริเนียม หรือ แคดเมียม มีผลต่อผิวหนังทำให้เกิดความระคายเคือง มีตุ่มแดงหรือผื่นคัน นอกจากนั้นสารไตรไน โตรฟลูออริโนน เป็นสารก่อเกิดมะเร็ง
3. รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน มีอันตรายต่อผิวหนังและสายตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ผิวหนังเกรียมไหม้ ถ้าสัมผัสนานอาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง
** ความเป็นพิษ / คนที่สัมผัสสารเคมีเหล่านี้
1. ความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน
1.1 ความเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร เมื่อร่างกายได้รับแคดเมียมโดยการกิน
1.2 ความเป็นพิษต่อระบบหายใจ การสูดหายใจเอาไอของแคดเมียมเข้าไปทำให้เกิดอาการระคายเคือง
2. ความเป็นพิษแบบเรื้อรัง ความเป็นพิษจากแคดเมียมที่เกิดกับคนส่วนใหญ่มักเป็นแบบชนิดเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายได้รับแคดเมียมเข้าไปเป็นเวลานานติดต่อกัน ได้แก่
2.1 ความเป็นพิษต่อปอดในคนที่หายใจเอาฝุ่นหรือไอ(fume)
2.2 ความเป็นพิษต่อไต
2.3 ความเป็นพิษที่กระดูก
2.4 ความเป็นพิษต่อระบบเลือดเข้าสู่หัวใจและระบบการสร้างเม็ดโลหิต
2.5 ความเป็นพิษต่อตับ
** อันตราย / ผลเสียต่อสุขภาพ

สารอันตราย(ตอนที่2)

เครื่องถ่ายเอกสารซึ่งเป็นอุปกรณ์สำนักงาน ที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่แทบทุกสำนักงานจะขาดไม่ได้ เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับมากมายจนผู้ใช้ละเลยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้เครื่องถ่ายเอกสารเป็นเวลานาน ปกติแล้วเครื่องถ่ายเอกสารมีส่วนประกอบที่สำคัญอัน ได้แก่ แม่พิมพ์ที่เป็นโลหะ ลูกกลิ้งที่เคลือบด้วยโลหะ ประเภทซิลิเนี่ยม หรือ แคดเมี่ยม และรังสีอัลตราไวโอเลต จะสังเกตเห็นขณะถ่ายเอกสาร ซึ่งเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นเครื่องถ่ายเอกสารระบบแห้งจะใช้สะดวกแต่ขณะที่ใช้ก็จะมีอันตรายต่อสุขภาพจากสารเคมีต่าง ๆ ดังนี้
1. ในหมึกพิมพ์จะมีสาร คาร์ซิโนเจน ซึ่งเป็นสารก่อเกิดมะเร็ง ผงคาร์บอน เมื่อผงคาร์บอนทำปฏิกิริยากัน สารไนโตรไพริน สารอะโรเมติกโพลี ไซคลิคไฮโดคาร์บอน สารเทอโม-พลาสติกเรซิน ขณะที่เครื่องทำงานจะมีกลิ่นฉุน จากปฏิกิริยาของสารเคมีดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ใช้ที่ต้องสัมผัสนาน ๆ จะมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ง่วงซึม รู้สึกมึนชา
2. โลหะที่ใช้เคลือบลูกกลิ้ง เช่น ซิริเนียม หรือ แคดเมียม มีผลต่อผิวหนังทำให้เกิดความระคายเคือง มีตุ่มแดงหรือผื่นคัน นอกจากนั้นสารไตรไน โตรฟลูออริโนน เป็นสารก่อเกิดมะเร็ง
3. รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน มีอันตรายต่อผิวหนังและสายตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ผิวหนังเกรียมไหม้ ถ้าสัมผัสนานอาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง
** ความเป็นพิษ / คนที่สัมผัสสารเคมีเหล่านี้
1. ความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน
1.1 ความเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร เมื่อร่างกายได้รับแคดเมียมโดยการกิน
1.2 ความเป็นพิษต่อระบบหายใจ การสูดหายใจเอาไอของแคดเมียมเข้าไปทำให้เกิดอาการระคายเคือง
2. ความเป็นพิษแบบเรื้อรัง ความเป็นพิษจากแคดเมียมที่เกิดกับคนส่วนใหญ่มักเป็นแบบชนิดเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายได้รับแคดเมียมเข้าไปเป็นเวลานานติดต่อกัน ได้แก่
2.1 ความเป็นพิษต่อปอดในคนที่หายใจเอาฝุ่นหรือไอ(fume)
2.2 ความเป็นพิษต่อไต
2.3 ความเป็นพิษที่กระดูก
2.4 ความเป็นพิษต่อระบบเลือดเข้าสู่หัวใจและระบบการสร้างเม็ดโลหิต
2.5 ความเป็นพิษต่อตับ
** อันตราย / ผลเสียต่อสุขภาพ

วัตถุ/สารอันตราย ตอนที่3

อาการพิษเฉียบพลัน - จากการกิน มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีน้ำลายไหล ปวดท้อง ช็อค(Shock) ไตและตับถูกทำลาย ถ้าจากการหายใจ (ควันของแคดเมี่ยม) มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจสั้น มีกลิ่นโลหะในปาก ไอมีเสมหะเป็นฟองหรือมีเสมหะเป็นเลือด อ่อนเพลีย ปวดเจ็บขา ต่อมาปัสสาวะจะน้อยลง เริ่มมีไข้ มีอาการของปอดอักเสบ
อาการพิษเรื้อรัง จากการหายใจ มีอาการไอ สูญเสียการรับกลิ่น น้ำหนักลด โลหิตจาง(anemia) หายใจลำบาก ฟันมีคราบเปื้อนสีเหลือง ตับและไตอาจถูกทำลาย
** แนวทางป้องกัน / คำแนะนำในการถ่ายเอกสารอย่างปลอดภัย
๑. การถ่ายเอกสารทุกครั้งควรปิดฝาครอบให้สนิท ในกรณีที่ไม่สามารถปิดให้สนิทได้ ควรหลีกเลี่ยงการมองไปยังเครื่องถ่ายเอกสารเพื่อป้องกันสายตา
๒. ควรมีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศเฉพาะที่ในห้องถ่ายเอกสาร
๓. ควรสวมถุงมือขณะเติม หรือเคลื่อนย้ายผงหมึก และในกรณีที่จำเป็นควรสวมอุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจด้วย นอกจากนี้ควรขอรับเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการใช้สารเคมี(Material Safety Data Sheet : MSDS) จากบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขาย
๔. ผงหมึกที่ใช้แล้วควรนำไปกำจัดโดยใส่ลงในภาชนะที่ปิดมิดชิด รวมไปถึงผงหมึกที่หกเลอะเทอะ หรือฟุ้งกระจายออกมาขณะทำการเติมผงหมึกด้วย
๕. เมื่อจะซื้อเครื่องถ่ายเอกสารเครื่องใหม่ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า
- มีระบบการเติมผงหมึกที่ปลอดภัยและมีภาชนะบรรจุเศษผงหมึกในเครื่อง
-เครื่องถ่ายเอกสารไม่ทำงานหรือเครื่องจะดับอัตโนมัติเมื่อภาชนะบรรจุเศษผงหมึกในเครื่องเต็มแล้ว
๖. ควรแน่ใจว่าเครื่องถ่ายเอกสารได้รับการบำรุงรักษาเป็นประจำ
๗. ไม่ควรจัดวางเครื่องถ่ายเอกสารไว้ในห้องทำงาน ควรจัดแยกไว้ในห้องถ่ายเอกสารโดยเฉพาะ หรือไว้ในมุมห้องที่ไกลออกไปจากคนทำงาน และควรแน่ใจว่ามีการระบายอากาศที่เหมาะสมภายในห้องนั้น
๘. ไม่ควรมีผู้ใดต้องทำงานถ่ายเอกสารตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว
๙. สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ให้บริการซ่อมหรือบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร ควรสวมถุงมือยางแบบใช้แล้วทิ้งขณะทำงาน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับลูกกลิ้งด้วย
๑๐. ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องถ่ายเอกสารควรได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมดังนี้
- ผู้ใช้เครื่องถ่ายเอกสาร ควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องถ่ายเอกสารอย่างเหมาะสมและปลอดภัย
- ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเครื่องถ่ายเอกสารควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและการเก็บสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการถ่ายเอกสารรวมไปถึงการนำสารเคมีมาใช้และการกำจัดของเสียด้วย

สารอันตราย(ตอนที่1)

นายบุญเลิศ สุขวัฒนานุกิจ รหัส 5214770370
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม รุ่นที่ 1
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง วิศวกรโยธา ระดับ 5 สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลบางบ่อ
** สาร/วัตถุอันตรายที่พบบ่อยที่สุดในที่ทำงาน : แคดเมี่ยม : Cadmium ( สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cd )
“ แคดเมี่ยม ” คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม ๔๘ เป็นโลหะทรานซิชันสีขาว – ฟ้า เป็นธาตุมีพิษ ในธรรมชาติพบอยู่ในแร่สังกะสี มีลักษณะอ่อนนุ่มงอได้ เหนียวรัด ทนทานต่อกรดสูง หลอมเหลวที่อุณหภูมิ 320.9 องศาเซลเซียส
โดยเป็นธาตุที่ ๕ ของหมู่๑๒D ในตารางธาตุ น้ำหนักอะตอมเท่ากับ๑๑๒.๔๑๑(๘) จุดหลอมเหลว ๓๒๑.๐๗ องศาเซลเซียส จุดเดือด ๗๖๗ องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ ๑๑.๓๔ วาเลนซี ๐,+๒และ+๔ มีลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาปนขาว( สีเงิน) เป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต จัดอยู่ในประเภทที่ 6 จำพวก สารพิษ ตามการจำแนกของ UN
** สถานที่ที่ทำให้เจอ
เครื่องถ่ายเอกสารซึ่งเป็นอุปกรณ์สำนักงาน ที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่แทบทุกสำนักงานจะขาดไม่ได้ เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับมากมายจนผู้ใช้ละเลยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้เครื่องถ่ายเอกสารเป็นเวลานาน ปกติแล้วเครื่องถ่ายเอกสารมีส่วนประกอบที่สำคัญอัน ได้แก่ แม่พิมพ์ที่เป็นโลหะ ลูกกลิ้งที่เคลือบด้วยโลหะ ประเภทซิลิเนี่ยม หรือ แคดเมี่ยม และรังสีอัลตราไวโอเลต จะสังเกตเห็นขณะถ่ายเอกสาร ซึ่งเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นเครื่องถ่ายเอกสารระบบแห้งจะใช้สะดวกแต่ขณะที่ใช้ก็จะมีอันตรายต่อสุขภาพจากสารเคมีต่าง ๆ ดังนี้

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

วิศวกรโยธากับการปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


วิศวกรโยธากับการปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Civil Engineering for work in Local Government

บุญเลิศ สุขวัฒนานุกิจ
วิศวกรโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
E-mail : BL_Suk@hotmail.com

บทนำ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ประเทศไทยประสบกับปัญหาภาวะวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน ที่ร้ายแรง และยุ่งยากมากกว่าที่ผ่านมา จนรัฐบาลไทยภายใต้การนำของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ตัดสินใจกู้วิกฤติเศรษฐกิจด้วยการเจรจาขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund ) ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้ตกลงให้ความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และมีการกำหนดเงื่อนไขการปฏิรูประบบราชการอันเป็นกลไกส่วนหนึ่งในการสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) โดยมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดบทบาท ของภาครัฐให้เหมาะสมในสังคม ซึ่งรวมถึงการกระจายอำนาจหน้าที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การสร้างระบบการตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของสาธารณชน เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น
การปกครองตนเองโดยรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ( Local Self Government ) เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศ และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานพัฒนาชนบทให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง อันเป็น การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติโดยรวม
องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กที่สุดซี่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น สามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามกฎหมาย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลมีความสำคัญต่อชุมชนในลักษณะที่เป็น องค์กรพื้นฐานของท้องถิ่นและเป็นกลไกที่สำคัญต่อการบริหาร การพัฒนาระดับตำบลทั้งในทางทฤษฏี และในทางปฏิบัติ ในทางทฤษฏีมีความเชื่อว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีแนวโน้มว่าจะมีศักยภาพสูงในการพัฒนาชนบท เป็นองค์กรที่มีพลังของประชาชนในท้องถิ่น อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนและทรัพยากรต่าง ๆ ในชนบท จึงน่าจะรู้ปัญหาความต้องการที่แท้จริงรวมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี อันจะส่งผลต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมในชุมชน และเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน และจัดการทรัพยากรและพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้อย่างมีอิสระและคล่องตัวมากขึ้น
องค์การบริหารส่วนตำบล ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เป็นกฎหมายที่ใช้จัดระเบียบการบริหารงานในตำแหน่งแทนประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 นับตั้งแต่พระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 ทำให้มีการปรับฐานะการบริหารงานในระดับตำบล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสภาตำบลทั่วประเทศออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบ “ สภาตำบล ” ได้รับการยกฐานะเป็นนิติบุคคล อันได้แก่ สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนต่ำกว่า 150,000 บาท
2. รูปแบบ“ องค์การบริหารส่วนตำบล ”( อบต. ) ตั้งขึ้นจากสภาตำบลที่มีรายได้ (โดยไม่รวมเงินอุดหนุน)ในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาทได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น
ซึ่งการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมีเจตนารมณ์ ดังนี้ ( กองราชการส่วนตำบล 2539 : 43 )
2.1 กระจายอำนาจการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาภายในตำบล และตอบสนองความต้องการของประชาชน อำนาจที่รัฐมอบให้ต้องมีขอบเขตตามที่รัฐกำหนด
2.2 เปิดโอกาสให้หน่วยบริหารราชการท้องถิ่น ปกครองตนเอง ทำหน้าที่และกิจกรรมเพื่อพัฒนาและบริหารตามสมควร ให้มีการปกครองที่เข้มแข็งเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล รัฐบาลกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีรายได้หลายทางรวมทั้งเงินอุดหนุน
2.3 เพื่อเสริมสร้างแนวคิดประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้มีกระบวนการสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายสภากับฝ่ายบริหาร และที่สำคัญส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่าง กว้างขวางในการเสนอแก้ปัญหา รวมถึงการตรวจสอบการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
จากเจตนารมณ์ดังกล่าว จะเห็นว่าการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมีลักษณะตรงตาม องค์ประ
กอบของธรรมาภิบาล (Good Governance) ในประเด็นหลักๆหลายประเด็น โดยเฉพาะหลักการมีส่วนร่วมของสาธารณชน ( Public Participation ) หลักความโปร่งใส(Tran sparency) ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการกำหนดความสำเร็จ หรือความล้มเหลวขององค์การบริหารส่วนตำบล
จึงกล่าวได้ว่าองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นองค์กรที่มีความสำคัญยิ่งในการบริหารงานและพัฒนาในระดับตำบล เป็นองค์กรที่ได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นหลัก หรือเป็นแกนนำที่สำคัญในการพัฒนาที่จะแก้ไขปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในระดับตำบล ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตื่นตัว และร่วมกิจกรรมพัฒนาในด้านต่างๆแต่ปรากฏ ข้อเท็จ
จริงว่า ความสามารถในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งหวังให้ องค์
การบริหารส่วนตำบล เป็นองค์กรดำเนินงานพัฒนาในท้องถิ่นนั้นประสบผลสำเร็จแตกต่างกันออกไป ความ
สำเร็จในการพัฒนา ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่ข้าราชการการเมืองกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ข้าราชการการเมืองและข้าราชการส่วนท้องถิ่น ข้าราชการส่วนท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลมีบทบาทต่อการพัฒนาท้องถิ่น จะประกอบไปด้วย ปลัด อบต. หัวหน้าส่วนการคลัง และหัวหน้าส่วนโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดตั้งมาเป็นเวลา ๑๓ ปีที่ผ่านพ้น ณ วันนั้น ไม่มีใครรู้จักอบต. ไม่มีใครอยากมาอยู่ อบต. ไม่มีใครอยากทำงานอบต. เพราะอบต.คืออะไร เป็นองค์กรอย่างไร มีโครงสร้างแบบไหน ทิศทางความก้าวหน้าจะเป็นอย่างไร ทำไมมีแค่ ปลัดฯ คลัง ช่าง เท่านั้น แล้วอบต.นี่จะรอดไปได้สักกี่น้ำ จะอยู่ได้สักกี่ปี แล้วชาวบ้านจะได้อะไรจากอบต. อบต.มันจะดีกว่าอำเภอได้อย่างไร อบต.จะมาช่วยเหลืออะไรชาวบ้านได้ ฯลฯ นี่คือคำถามที่คนทั่วไปสอบถามในช่วงก่อร่างสร้างตัวของอบต.ในระยะ ๕ ปีแรก และแน่นอน คนที่ต้องตอบคำถามเหล่านั้นก็คือ ปลัดฯ คลัง และช่าง ที่ได้รับการขนานนามจากส่วนราชการที่พบเห็นและร่วมทำงานด้วยว่า "๓ ทหารเสือ อบต." จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของอบต.ที่คนหนุ่ม-สาว เหล่านั้น ได้วางรากฐานให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล ในฐานะหน่วยงานราชการ ใหม่สด ๆ ซิง ๆ ที่ไม่มีที่ใดในโลกนอกจากประเทศไทย การที่เป็นคนหนุ่ม-สาว ทำให้คนเหล่านี้ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ชนิดถวายหัวก็ว่าได้ เพราะนิสัยของคนหนุ่มสาวก็คือ "เป็นคนหัวรั้น" "เป็นคนไม่ชอบให้ใครมาดูถูกดูแคลน" ยิ่งได้รับการสบประมาทจากผู้คนรอบตัว ไม่ว่า ชาวบ้าน หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน สื่อมวลชน มากเท่าใด คนเหล่านี้ก็ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพิ่มเป็นเท่าทวีคูณมากขึ้นเท่านั้น และแน่นอนว่า คนหนุ่ม-สาวเหล่านี้ ต้องมีจิตใจที่มุ่งมั่น จิตใจที่แข็งแกร่ง เรียกว่า หัวใจเป็นเหล็กก็ว่าได้ เพราะต้องทำงานแข่งขันกับกาลเวลาที่ล่วงเลย เพื่อลบคำสบประมาทของเหล่าผู้คนให้จงได้.... บัดนี้ ๑๓ ปีผ่านพ้น ผมเชื่อว่า ไม่มีใครปฏิเสธหรือสบประมาทอบต.ได้อีกต่อไปแล้ว ไม่มีใครที่ไม่อยากเข้ามาทำงานในอบต. ดังจะเห็นจากการเปิดสอบพนักงานส่วนตำบลในแต่ละครั้ง มีผู้คนสนใจเข้ามาสมัครสอบแข่งขันครั้งหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก หรือการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาอบต.ในแต่ละหน มีผู้คนทั้งมีความรู้ ไร้ความรู้ มีความสามารถ มีคุณวุฒิ จำนวนมาก สนใจมุ่งสู่ถนนอบต. อดีตข้าราชการเกษียณ อดีตข้าราชการการเมืองในระดับชาติ และระดับจังหวัด จำนวนมากหันเรือมุ่งสู่เก้าอี้ ผู้บริหารอบต. แน่นอนว่า ผมคงไม่กล้าที่จะบอกว่า นั่นเป็นผลงานของ ๓ ทหารเสืออบต.ล้วน ๆ เพราะองค์ประกอบของอบต. นอกจาก ๓ ทหารเสือแล้ว ก็ยังต้องอาศัย คณะผู้บริหาร และสมาชิกสภาอบต. รวมทั้งประชาชนในพื้นที่อีกด้วยที่ต้องร่วมแรงร่วมใจกัน และอีกหน่วยงานหนึ่งก็คือ หน่วยงานกำกับดูแล ก็คือ นายอำเภอและเจ้าหน้าที่อำเภอ ไม่ว่าจะเป็นปลัดอำเภออาวุโส ปลัดอำเภอฝ่ายท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ปกครองของอำเภอ พัฒนากร เกษตรประจำตำบล ฯลฯ คนเหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจรรโลงให้อบต. ได้เจริญเติบโตเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปในปัจจุบัน แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า กำลังสำคัญที่เป็นกลไกขับเคลื่อนอบต.ให้เจริญได้ก็คือ ๓ ทหารเสืออบต.ในอดีตนั่นเอง "ปลัดฯ คลัง ช่าง" วันนี้... อบต.ประกอบด้วยบุคลากรมากมาย หลายตำแหน่ง หลายร้อยอัตรา มีที่มาต่างกัน มีความคิดที่แตกต่างกัน มีภูมิหลังที่ไม่เหมือนกัน มีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ จนหลายแห่งมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากมีบุคลากรมากจนเกินไป ไม่ว่าจะมากเพราะสาเหตุใดก็ตาม และจากการที่อบต.ได้มีความเจริญเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากมีบุคลากรเพียง ๓ คนเมื่อปี ๒๕๔๐ เพียง ๑๓ ปี อบต.ส่วนใหญ่มีบุคลากรเพิ่มขึ้นมากกว่า ๓ เท่าตัว หลายแห่งสามารถดูแลควบคุมกันให้อยู่ในระเบียบวินัยได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีหลายอบต.ที่ เกิดปัญหาระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นก่อน (ยังไม่เก่าครับ) และหลาย ๆ แห่งเริ่มมองไม่เห็นหัวของคนรุ่นก่อน โดยมีการเชิญบุคคลภายนอกไม่ว่าจะเป็น ปลัดอำเภอ พัฒนากร ข้าราชการประเภทอื่น มาดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในอบต.ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่ง ปลัดอบต. / หัวหน้าส่วนการคลัง / หัวหน้าส่วนโยธา ฯลฯ ทั้ง ๆ ที่บุคคลเหล่านั้นก็ยังคงทำงานอยู่ หลายคนถูกปลดให้ไปประจำจังหวัดบ้าง ไปประจำอำเภอบ้าง หรือแม้แต่ให้อยู่เฉย ๆ ที่อบต.นั้น ๆ ก็มีอยู่มาก นั่นเป็นส่วนหนึ่งของความขมขื่น ของคนกลุ่มหนึ่งบนความสุขของคนอีกกลุ่มหนึ่ง.... หากจะกล่าวว่า นั่นก็เพราะยุคใครยุคมัน ก็คงต้องกล่าวคำว่า "ปลง" แต่นั่นก็เป็นวัฒนธรรมที่น่ารังเกียจที่ไม่ควรนำมาเป็นแบบอย่าง เพราะไม่เช่นนั้น อนาคตจะไม่มีใครที่จะรักและหวงแหนสถาบันที่ตนทำงานอยู่เป็นแน่แท้.... ณ ปัจจุบัน ๓ ทหารเสือ มีหลายคนบ่นมาดัง ๆ โดยเฉพาะ หัวหน้าส่วนโยธา หนึ่งใน ๓ ทหารเสือ บอกว่า "ปลัดฯ เอาตัวรอดคนเดียว" ได้ดิบได้ดีกันถ้วนหน้า ปลัดฯหลายคนได้ระดับ ๘ ไปเรียบร้อยโรงเรียนนักบริหารระดับต้น ได้เงินประจำตำแหน่ง ๕,๖๐๐ บาท คูณสองเท่ากับ หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสองร้อยบาท ปลัดฯระดับ ๖ และ ๗ ได้รับเงินประจำตำแหน่งไปแล้ว ๓,๕๐๐ บาท ตั้งหลายปีแล้ว วันนี้ สบายกันถ้วนหน้า หลายคนได้เงินพิเศษจากการรับตำแหน่ง เลขาฯคณะกรรมการบริหารอบต.ในอดีต กินต่อมาจนถึง เลขานุการสภาอบต. ได้รับเงินเพิ่มอีกอย่างน้อย ๆ ก็เดือนละ ๕,๗๐๐ บาท สามารถผ่อนรถ ผ่อนบ้าน โดยไม่ต้องใช้เงินตัวเอง ผ่านพ้นไปเรียบร้อยแล้ว เงินเดือนก็ขึ้นเอา ๆ สองขั้นแทบไม่มีเว้นปี หลายคนเงินเดือนบวกค่าตอบแทนพิเศษปาเข้าไปเกือบห้าหมื่นบาท ในขณะที่หัวหน้าส่วนโยธา และหัวหน้าส่วนการคลัง ที่อดีตเป็นเสมือน แขนซ้าย-แขนขวา ปลัดฯ กลับได้เงินเดือนและค่าตอบแทนใกล้เคียงกับเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ฯ บุคลากร หรือนิติกร ที่เพิ่งบรรจุได้เพียง ๕ - ๖ ปีเท่านั้น บุคลากรรุ่นใหม่เหล่านี้ หลายคนแซงหน้าหัวหน้าส่วนการคลัง หัวหน้าส่วนโยธาไปเรียบร้อยแล้ว หลายคนโยกไปโยกมา กลายมาเป็นรองปลัดฯ เป็นหัวหน้าของหัวหน้าส่วนการคลัง และหัวหน้าส่วนโยธา ไปเสียได้ และหลายคนก็ขยับขึ้นมาเทียบชั้นในตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานปลัดฯ หัวหน้าส่วนการศึกษา หัวหน้าส่วนสวัสดิการสังคม

วิศวกรโยธาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตำแหน่งวิศวกรโยธาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่หลากหลาย ตำแหน่งวิศวกรโยธาน่าจะเปลี่ยนเป็นวิศวกรจับฉ่ายหรือวิศวกรแกงโฮะ เนื่องจากภาระหน้าที่หลากหลายมาก ไม่ใช่มีแค่งานโยธาเท่านั้น แต่ต้องรับผิดชอบงานอื่นๆ อีกมาก ตัวอย่างเช่น การจะออกใบอนุญาตก่อสร้างต้องรู้ว่าอาคารขนาดนี้ต้องมีวิศวกรโยธาระดับไหนออกแบบ ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในอาคารนั้นต้องมีวิศวกรไฟฟ้ารับรองหรือไม่ นั่นคือ นอกจากเงื่อนไขต่างๆ ตามกฎหมายด้านงานโยธาแล้ว ยังต้องรู้กฎหมายด้านไฟฟ้า เครื่องกล สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ด้วย และเมื่อออกใบอนุญาตแล้วก็ยังมีภาระตามมาอีก คือการติดตามดูแลว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ เคยมีกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบล อนุญาตให้มีการขุดดินแล้วไม่มีการดูแล ผู้ประกอบการได้ขุดดินลึกและกว้างกว่าที่ขออนุญาตแถมยังทำขัดต่อ พรบ.ขุดดินถมดินอีก จนบ้านเรือนข้างเคียงได้รับความเสียหาย กรณีนี้ อบต. จะต้องรับผิดชอบด้วยเพราะไม่ได้ควบคุมดูแล นอกจากงานช่างแล้ว ยังมีงานด้านสังคมอีกต่างหากไม่ว่ากฐิน ผ้าป่า รับแขก นายช่างโยธาก็ได้ถูกเปรียบเสมือน “วิศวกรเป็ด” เพราะเป็ดเป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่ได้ทั้งในน้ำ บก และอากาศ แต่ไม่เก่งสักอย่าง ว่ายน้ำก็แพ้ปลา วิ่งก็แพ้สัตว์บกอื่น บินก็สู้นกไม่ได้
แล้วทำไมถึงคิดว่าวิศวกรเป็ดเหล่านี้จึงมีความเสี่ยงต่อการถูกเชือด เพราะมาตรฐานกำหนดตำแหน่งวิศวกรโยธา ที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นทำไว้จะเข้าใจปัญหาตัวอย่างเช่น มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งวิศวกรโยธา 5 ซึ่งเป็นผู้มีคุณวุฒิ ปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา และต้องมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ต้องปฏิบัติงานมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ปี ระบุลักษณะงานที่ปฏิบัติไว้ว่า “ปฏิบัติงานค่อนข้างยากมาก หรือมีความรับผิดชอบสูงเกี่ยวกับงานโยธา โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเช่นการออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง และบำรุงรักษาด้านช่าง การวางโครงการ การให้คำปรึกษาแนะนำหรือตรวจสอบเกี่ยวกับงานด้านงานโยธา เช่น งานทาง งานสะพาน ท่อระบายน้ำ อาคาร อุโมงค์ เขื่อน อาคารชลประทาน ท่าเทียบเรือ สนามบิน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เป็นต้น ปฏิบัติงานสำรวจต่างๆ เกี่ยวกับงานโยธา เช่นสำรวจเพื่อการก่อสร้าง สำรวจและทดลองวัสดุ ทดลองหาคุณสมบัติของดิน สำรวจข้อมูลจราจร สำรวจทางอุทกวิทยา ตรวจทานแบบ สำรวจอุตุนิยมวิทยา ซ่อมสร้างวัสดุครุภัณฑ์เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการสำรวจ และทดลองทุกชนิดให้ได้มาตรฐาน ควบคุมการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องมือเครื่องใช้ของหน่วยงานให้ถูกต้องตามหลักวิชา เป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง อ่านแล้วหน้าตกใจว่าหน้าที่และลักษณะงานที่กำหนดไว้นั้นเป็นงานวิศวกรรมควบคุมบางทีต้องทำโดยวิศวกรระดับสามัญ แถมยังมีการให้คำปรึกษา ซึ่งต้องเป็นวิศวกรระดับวุฒิ ซึ่งวิศวกรบางท่านเข้าใจว่ามีอำนาจปฏิบัติงานวิศวกรรมควบคุมเพราะมีกำหนดไว้ในมาตรฐาน ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น อันเป็นการเข้าใจผิด เพราะมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นเป็นการภายใน ไม่ได้ผ่านกระบานการออกมาบังคับใช้ในลักษณะของกฎหมาย ไม่สามารถลบล้างพระราชบัญญัติวิศวกร 2542 ได้ ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีหลายแห่งปฏิบัติงานขัดต่อพระราชบัญญัติวิศวกร 2542 ซึ่งโทษที่กำหนดไว้ในมาตรา 71 คือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
บางท่าเข้าใจผิดว่า งานก่อสร้างของหน่วยงานราชการไม่ต้องขออนุญาต ก็เลยทำไปโดยขัดต่อพระราชบัญญัติวิศวกร 2542 ซึ่งต้องเข้าใจว่า การได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องปฏิบัติพระราชบัญญัติ
หลายท่าเข้าใจข้อกฎหมายดี แต่อยู่ในสภาวะที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก เมื่อมีงานที่ต้องทำก็จำใจทำทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ถูกต้อง บางท่านมีพรรคพวกที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรระดับสามัญก็ไปขอให้ช่วยออกแบบ ถือว่าโชคดี จะไปขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นก็ยากเพราะเขาก็มีภาระมากอยู่แล้ว และไม่มีผู้ใดจะเอากระดูกมาแขวนคอ เพราะถ้ายื่นมือเข้ามาช่วยก็จะไม่ได้ผลตอบแทนแถมยังต้องมารับผิดชอบหากเกิดเหตุอะไรขึ้น
การแก้ปัญหาเรื่องนี้ยากพอสมควร สิ่งแรกที่วิศวกรโยธาควรทำคือการศึกษากฎหมายให้ละเอียด เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานที่ขัดต่อกฎหมาย นอกจากนี้ควรทำงานโดยใช้เอกสารเป็นสำคัญและเก็บเอกสารให้ดี บางอย่างที่คิดว่าไม่สำคัญนัก เช่นการบันทึกควบคุมงานประจำวัน ก็อาจมีความสำคัญในอนาคตเคยมีการร้องเรียนไปยังปปช. เกี่ยวกับงานก่อสร้างเล็กๆ ที่สร้างเสร็จมาสองปีกว่าแล้ว ว่ามีการทุจริต ทำให้ปปช. ส่งตำรวจกองปราบมาสอบข้อเท็จจริง ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารเกี่ยวข้องด้วย เรื่องนี้มีที่มาจากการที่ผู้แพ้การเลือกตั้งพยายามเล่นงานผู้ชนะ แต่เท่าที่ดูเรื่องทั้งหมดแล้ว หากเล่นงานสำเร็จ คนที่จะรับกรรมไม่ใช่ผู้บริหารซึ่งเป็นเป้าหมาย แต่เป็นบรรดาช่างผู้ออกแบบประมาณการและควบคุมงาน เพราะผู้บริหารไม่มีชื่อเกี่ยวข้องในกระบวนการจัดจ้างเลย งานนี้ช่างโยธาอาจเปลี่ยนสภาพจาก “เป็ด” เป็น “แพะ” ก็ได้ และถ้าเกิดไปอยู่กับนักการเมืองท้องถิ่นที่เข้ามาโดยไม่สุจริต นักการเมืองพวกนี้ก็ต้องมาเอาคืนโดยการมาบังคับขมขู่ช่าง ถ้าไม่ทำงานตอบสนองนโยบายของผู้บริหารก็ต้องไปหาที่อยู่ใหม่ หรืออาจจะเจอคำถามว่าจะไปเกิดใหม่ บางคนอยู่กับผู้บริหารที่มีวิสัยทัศที่ดีผู้บริหารก็จะเปิดใจรับฟังเหตุผลว่าอะไรที่เกินความสามรถของบุคลากร ก็ดำเนินการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น และจะทำให้บุคลากรในองค์กรทำงานด้วยความสบายอกสบายใจไม่ต้องห่วงหน้าห่วงหลัง จากที่เล่ามานี้เป็นประสบการณ์จาการปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้ไปเข้ารับการฝึกอบรมโดยได้เจอผู้ปฏิบัติงานในสายงายเดี่ยวกันพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์การปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อที่จะอยู่รอดปลอดภัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เอกสารอ้างอิง
[1] สมยศ หนูเนตร. 2550. การศึกษาระดับความเป็นธรรมภิบาลของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรปราการ รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
[2] พิพัฒน์ วรสิทธิดำรง phiphatw@hotmail.com[3] ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมโยธา พ.ศ. ๒๕๕๑
[4] วัชรินทร์ กาสลัก ประธานคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. ช่างโยธาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
[5] มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ก.อบต.กำหนดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2545 และแก้ไขเพิ่มเติมตามมติ ก.อบต.ครั้งที่ 6/2548 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2548

ประวัติผู้เขียนและผู้เขียนร่วม
นายบุญเลิศ สุขวัฒนานุกิจ สำเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรม
ศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และกำลังศึกษาในระดับปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง